ขอนอบน้อมแด่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์นั้น
ในกาลนั้น มีพาณิชสองพี่น้อง ชื่อ ตปุสสะ๑ ภัลลิกะ๑ เป็นนายกองเกวียน นำกองเกวียนบรรทุกสินค้า โดยมรรคาอันไกลปรารถนาจะไปค้าขายยังอุกกลชนบท ในมัชฌิมประเทส เดินทางมาใกล้พนาสณฑ์นั้น เทพยดาได้แนะนำให้ไปเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า สองพาณิชก็ดีใจพักกองเกวียนไว้ แล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า มีศรัทธาเลื่อมใสได้น้อมข้าวสัตตุก้อน สัตตุผง เข้าทูลถวายด้วย
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงดำริว่า บาตรของตถาคตได้หายไปแต่เช้าแห่งวันตรัสรู้ ต้องทรงรับข้าวมธุปายาสของนางสุชาดาด้วยพระหัตถ์ และครั้นเมื่อได้ตรัสรู้แล้ว ก็มิได้เสวยพระกระยาหารเลย ตลอดเวลา ๔๙ วัน บัดนี้ควรจะรับอาหารของสองพาณิช ที่น้อมเข้ามาถวายด้วยบาตร บัดนั้น ท้าวจาตุมหาราชทั้ง ๔ พระองค์ ได้นำบาตรเสลมัย เป็นศิลาล้วน มีสีเขียวดังเมล็ดถั่วเขียวทั้ง ๔ ลูก มาจากทิศทั้ง ๔ น้อมเข้าไปถวายพระผู้มีพระภาคเจ้า
ครั้นพระองค์ทรงรับบาตรทั้ง ๔ ลูก และในทันใดนั้น ก็ทรงอธิษฐานประสานบาตรทั้ง ๔ ลูกนั้น เข้าเป็นบาตรลูกเดียว แล้วทรงเอาบาตรนั้นรับข้าวสัตตุก้อน สัตตุผงของพาณิชทั้งสอง ทรงทำภัตตกิจ
เมื่อพระผู้มีพระภาคเสร็จการเสวยแล้ว ตปุสสะ ภัลลิกะพาณิชทั้งสอง ได้กราบทูลแสดงตนเป็นอุบาสก ด้วยความเลื่อมใสของถึงซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้ากับพระธรรม ว่าเป็นสรณะตลอดชีวิต ด้วยครั้งนั่นยังไม่มีพระสงฆ์ ปฐมอุบาสกทั้งสองนี้จึงเป็นอุบาสกประเภท "เทฺววาจิก" คือ คือเปล่งวาจาขอถึงพระพุทธเจ้า และพระธรรมทั้งสองเป็นที่พึ่งที่ระลึก
ครั้นแล้วพาณิชทั้งสองได้กราบทูลขอประทานปูชณียวัตถุ คือสิ่งใดสิ่งหนึ่งสำหรับเป็นที่ระลึก อภิวาทบูชาในกาลต่อไป พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยกพระหัตถ์ขึ้นปรามาสพระเศียร ในขณะนั้น พระเกศธาตุ ๘ เส้น ได้ติดนิ้วพระหัตถ์ลงมา พระบรมศาสดาจึงทรงประทานพระเกศธาตุทั้ง ๘ เส้นนั้น แก่ตปุสสะ ภัลลิกะ ปฐมอุบาสก เพื่อเป็นที่ระลึกตามประสงค์ พาณิชทั้งสองน้อมรับพระเกศาธาตุด้วยความเบิกบานใจยิ่งนัก ได้นำบรรจุลงในผอบทองคำ แล้ววางลงบนสุวรรณภาชนะอันวิจิตร ถวายบังคมอัญเชิญผอบพระเกศาธาตุไปด้วยเศียรเกล้าของตน นำขึ้นประดิษฐานบนเกวียน แล้วหลีกไปจากที่นั้น
ครั้นล่วง ๗ วันแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงเสด็จจากร่มไม้ราชายตนะประทับยังต้นไม้อชปาลนิโครธอีกครั้งหนึ่ง ทรงพระดำริถึงพระองค์ว่า การที่พระองค์อยู่โดยความเป็นผู้ไม่มีที่เคารพ กราบไหว้ เป็นความลำบากก็แล พระองค์ควรจะเคารพกราบไหว้ผู้ใดดี เมื่อได้ทรงพิจารณาเลือกหาผู้ที่ทรงคุณสมบัติยิ่งกว่า ควรที่พระองค์จะทรงเคารพ ก็มิได้ทรงมองเห็นผู้ใดผู้หนึ่งซึ่งเป็นผู้สูงด้วยคุณธรรม ควรแก่การคารวะ
ทรงพระดำริว่า พระโลกุตตรธรรม ที่ตถาคตได้ตรัสรู้นี้แล เป็นปูชนยวัตถุอันประเสริฐสุด ควรแก่การเคารพบูชาอย่างยิ่ง แม้พระสัมพุทธเจ้าทั้งหลายที่เสด็จดับขันธปรินิพพานไปแล้วทุก ๆ พระองค์ ก็ทรงเคารพพระสัทธรรม ดังนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงเคารพพระธรรม ทรงเทิดทูนพระธรรมขึ้นเป็นที่เคารพบูชา
ต่อนั้นมาก็ทรงพิจารณาถึงพระธรรม ที่พระองค์ได้ทรงตรัสรู้ทั้งหมดนั้น เป็นคุณชาติละเอียดสุขุมคัมภีรภาพอย่างยิ่ง ยากที่มนุษย์ทั้งหลายผู้มีปัญญาน้อย มีความเพียรน้อย แม้จะได้สดับแล้ว จะตรัสรู้ตามได้ ทำให้พระองค์ทรงท้อพระทัยในอันจะแสดงธรรมโปรดประชากร
ขณะนั้น ท้าวสหัมบดีพรหม ทราบในพระพุทธปริวิตกเช่นนั้น จึงชวนเทพยดาเป็นอันมาก เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้ายังที่ประทับ แล้วกราบทูลอาราธนาว่า...
"ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงพระมหากรุณาดังทะเลหลวง ประชากรทั้งปวงที่มีสาวกบารมีได้สั่งสมไว้ มีอยู่ สัตว์ผู้มีธุลีนัยน์ตาน้อย ยังมีอยู่ ถ้าพระองค์ได้ทรงพระกรุณาโปรดประทานพระธรรมเทศนา ประชาสัตว์ก็จะได้ดวงปัญญาหยั่งรู้ตาม จะได้ข้ามสังสารวัฏ สมดัง
มโนรถของพระองค์ที่ทรงมุ่งจะรื้อขนสัตว์ให้เข้าสู่พระนิพพาน"
ครั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสดับคำอารธนาของท้าวสหัมบดีก็ทรงพระจินตนาการว่า เป็นธรรมดาของพระสัมพุทธเจ้าทั้งหลายที่สืบ ๆ กันมา ในอันที่จะประกาศธรรมโปรดประชากร แท้จริงในราตรีแห่งวันที่จะได้ตรัสรู้ในมัชฌิมยาม ทรงบรรลุจุตูปปาตญาณ ก็ทรงหยั่งเห็นสันดานของประชาสัตว์สิ้นแล้ว ว่ามีอุปนิสัยต่าง ๆ กัน เป็น ๔ จำพวก คือ
๑. อุคฆฏิตัญญู ผู้สามารถจะตรัสรู้ตามพระธรรมเทศนาได้ฉับพลัน
๒. วิปจิตัญญู ผู้จะตรัสรู้ตามในกาลภาคหลังที่สดับรับพระโอวาทแนะนำในกาลต่อไป
๓. เนยยะ ผู้มีสันดานเพียงเล่าเรียน ศึกษา ปฏิบัติตามโอวาท ซึ่งสามารถจะรู้ได้ในกาลภายหลัง
๔.ปทปรมะผู้ยากที่จะสั่งสสอน แม้จะได้สดับธรรม ก็จะได้ผลเพียงเป็นอุปนิสัยปัจจัยในภพต่อไป ดังดอกบัว ๔ เหล่านั้น จึงได้ทรงน้อมพระทัยไปในอันที่จะแสดงธรรมโปรดประชาสัตว์ ทรงรับอารธนาของท้าวสหัมบดีพรหม ตั้งพระทัยจะประดิษฐานพระพุทธศาสนาด้วยดี ให้เกิดแก่พุทธบริษัททั้ง ๔ คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา แผ่ใพศาลก่อนที่จะเสด็จดับขันธ์ปรินิพพานสืบไป.
จากหนังสือ...พุทธประวัติทัศนศึกษา
นิพนธ์ของ...พระพิมลธรรม (ชอบ อนุจารีมหาเถระ ร.บ.)
..............................................
ท้าวสหัมบดีพรหมเข้าเฝ้าอาราธนาพระผู้มีพระภาคให้แสดงธรรมโปรดสรรพสัตว์
ในกาลนั้น มีพาณิชสองพี่น้อง ชื่อ ตปุสสะ๑ ภัลลิกะ๑ เป็นนายกองเกวียน นำกองเกวียนบรรทุกสินค้า โดยมรรคาอันไกลปรารถนาจะไปค้าขายยังอุกกลชนบท ในมัชฌิมประเทส เดินทางมาใกล้พนาสณฑ์นั้น เทพยดาได้แนะนำให้ไปเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า สองพาณิชก็ดีใจพักกองเกวียนไว้ แล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า มีศรัทธาเลื่อมใสได้น้อมข้าวสัตตุก้อน สัตตุผง เข้าทูลถวายด้วย
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงดำริว่า บาตรของตถาคตได้หายไปแต่เช้าแห่งวันตรัสรู้ ต้องทรงรับข้าวมธุปายาสของนางสุชาดาด้วยพระหัตถ์ และครั้นเมื่อได้ตรัสรู้แล้ว ก็มิได้เสวยพระกระยาหารเลย ตลอดเวลา ๔๙ วัน บัดนี้ควรจะรับอาหารของสองพาณิช ที่น้อมเข้ามาถวายด้วยบาตร บัดนั้น ท้าวจาตุมหาราชทั้ง ๔ พระองค์ ได้นำบาตรเสลมัย เป็นศิลาล้วน มีสีเขียวดังเมล็ดถั่วเขียวทั้ง ๔ ลูก มาจากทิศทั้ง ๔ น้อมเข้าไปถวายพระผู้มีพระภาคเจ้า
ครั้นพระองค์ทรงรับบาตรทั้ง ๔ ลูก และในทันใดนั้น ก็ทรงอธิษฐานประสานบาตรทั้ง ๔ ลูกนั้น เข้าเป็นบาตรลูกเดียว แล้วทรงเอาบาตรนั้นรับข้าวสัตตุก้อน สัตตุผงของพาณิชทั้งสอง ทรงทำภัตตกิจ
เมื่อพระผู้มีพระภาคเสร็จการเสวยแล้ว ตปุสสะ ภัลลิกะพาณิชทั้งสอง ได้กราบทูลแสดงตนเป็นอุบาสก ด้วยความเลื่อมใสของถึงซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้ากับพระธรรม ว่าเป็นสรณะตลอดชีวิต ด้วยครั้งนั่นยังไม่มีพระสงฆ์ ปฐมอุบาสกทั้งสองนี้จึงเป็นอุบาสกประเภท "เทฺววาจิก" คือ คือเปล่งวาจาขอถึงพระพุทธเจ้า และพระธรรมทั้งสองเป็นที่พึ่งที่ระลึก
ครั้นแล้วพาณิชทั้งสองได้กราบทูลขอประทานปูชณียวัตถุ คือสิ่งใดสิ่งหนึ่งสำหรับเป็นที่ระลึก อภิวาทบูชาในกาลต่อไป พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยกพระหัตถ์ขึ้นปรามาสพระเศียร ในขณะนั้น พระเกศธาตุ ๘ เส้น ได้ติดนิ้วพระหัตถ์ลงมา พระบรมศาสดาจึงทรงประทานพระเกศธาตุทั้ง ๘ เส้นนั้น แก่ตปุสสะ ภัลลิกะ ปฐมอุบาสก เพื่อเป็นที่ระลึกตามประสงค์ พาณิชทั้งสองน้อมรับพระเกศาธาตุด้วยความเบิกบานใจยิ่งนัก ได้นำบรรจุลงในผอบทองคำ แล้ววางลงบนสุวรรณภาชนะอันวิจิตร ถวายบังคมอัญเชิญผอบพระเกศาธาตุไปด้วยเศียรเกล้าของตน นำขึ้นประดิษฐานบนเกวียน แล้วหลีกไปจากที่นั้น
ครั้นล่วง ๗ วันแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงเสด็จจากร่มไม้ราชายตนะประทับยังต้นไม้อชปาลนิโครธอีกครั้งหนึ่ง ทรงพระดำริถึงพระองค์ว่า การที่พระองค์อยู่โดยความเป็นผู้ไม่มีที่เคารพ กราบไหว้ เป็นความลำบากก็แล พระองค์ควรจะเคารพกราบไหว้ผู้ใดดี เมื่อได้ทรงพิจารณาเลือกหาผู้ที่ทรงคุณสมบัติยิ่งกว่า ควรที่พระองค์จะทรงเคารพ ก็มิได้ทรงมองเห็นผู้ใดผู้หนึ่งซึ่งเป็นผู้สูงด้วยคุณธรรม ควรแก่การคารวะ
ทรงพระดำริว่า พระโลกุตตรธรรม ที่ตถาคตได้ตรัสรู้นี้แล เป็นปูชนยวัตถุอันประเสริฐสุด ควรแก่การเคารพบูชาอย่างยิ่ง แม้พระสัมพุทธเจ้าทั้งหลายที่เสด็จดับขันธปรินิพพานไปแล้วทุก ๆ พระองค์ ก็ทรงเคารพพระสัทธรรม ดังนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงเคารพพระธรรม ทรงเทิดทูนพระธรรมขึ้นเป็นที่เคารพบูชา
ต่อนั้นมาก็ทรงพิจารณาถึงพระธรรม ที่พระองค์ได้ทรงตรัสรู้ทั้งหมดนั้น เป็นคุณชาติละเอียดสุขุมคัมภีรภาพอย่างยิ่ง ยากที่มนุษย์ทั้งหลายผู้มีปัญญาน้อย มีความเพียรน้อย แม้จะได้สดับแล้ว จะตรัสรู้ตามได้ ทำให้พระองค์ทรงท้อพระทัยในอันจะแสดงธรรมโปรดประชากร
ขณะนั้น ท้าวสหัมบดีพรหม ทราบในพระพุทธปริวิตกเช่นนั้น จึงชวนเทพยดาเป็นอันมาก เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้ายังที่ประทับ แล้วกราบทูลอาราธนาว่า...
"ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงพระมหากรุณาดังทะเลหลวง ประชากรทั้งปวงที่มีสาวกบารมีได้สั่งสมไว้ มีอยู่ สัตว์ผู้มีธุลีนัยน์ตาน้อย ยังมีอยู่ ถ้าพระองค์ได้ทรงพระกรุณาโปรดประทานพระธรรมเทศนา ประชาสัตว์ก็จะได้ดวงปัญญาหยั่งรู้ตาม จะได้ข้ามสังสารวัฏ สมดัง
มโนรถของพระองค์ที่ทรงมุ่งจะรื้อขนสัตว์ให้เข้าสู่พระนิพพาน"
ครั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสดับคำอารธนาของท้าวสหัมบดีก็ทรงพระจินตนาการว่า เป็นธรรมดาของพระสัมพุทธเจ้าทั้งหลายที่สืบ ๆ กันมา ในอันที่จะประกาศธรรมโปรดประชากร แท้จริงในราตรีแห่งวันที่จะได้ตรัสรู้ในมัชฌิมยาม ทรงบรรลุจุตูปปาตญาณ ก็ทรงหยั่งเห็นสันดานของประชาสัตว์สิ้นแล้ว ว่ามีอุปนิสัยต่าง ๆ กัน เป็น ๔ จำพวก คือ
๑. อุคฆฏิตัญญู ผู้สามารถจะตรัสรู้ตามพระธรรมเทศนาได้ฉับพลัน
๒. วิปจิตัญญู ผู้จะตรัสรู้ตามในกาลภาคหลังที่สดับรับพระโอวาทแนะนำในกาลต่อไป
๓. เนยยะ ผู้มีสันดานเพียงเล่าเรียน ศึกษา ปฏิบัติตามโอวาท ซึ่งสามารถจะรู้ได้ในกาลภายหลัง
๔.ปทปรมะผู้ยากที่จะสั่งสสอน แม้จะได้สดับธรรม ก็จะได้ผลเพียงเป็นอุปนิสัยปัจจัยในภพต่อไป ดังดอกบัว ๔ เหล่านั้น จึงได้ทรงน้อมพระทัยไปในอันที่จะแสดงธรรมโปรดประชาสัตว์ ทรงรับอารธนาของท้าวสหัมบดีพรหม ตั้งพระทัยจะประดิษฐานพระพุทธศาสนาด้วยดี ให้เกิดแก่พุทธบริษัททั้ง ๔ คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา แผ่ใพศาลก่อนที่จะเสด็จดับขันธ์ปรินิพพานสืบไป.
จากหนังสือ...พุทธประวัติทัศนศึกษา
นิพนธ์ของ...พระพิมลธรรม (ชอบ อนุจารีมหาเถระ ร.บ.)
..............................................