ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์นั้น
ปัญจวัคคีย์เข้าเฝ้าพระมหาบุรุษเจ้า ณ ตำบลอุรุเวลา เสนานิคม
ครั้นเมื่อบรรดาราชบุรุษได้เห็นพระมหาบุรุษในขณะเสด็จบิณฑบาต จึงนำความไปกราบทูลพระเจ้าพิมพิสารพระราชาแห่งแคว้นมคธให้ทราบ พระเจ้าพิมพิสารจึงรับสั่งให้ไปสะกดรอยติดตาม เพื่อทราบความเท็จจริงของบรรพชิตรูปนี้ เมื่อบรรดาราชบุรุษได้สืบจนทราบความจริงแล้ว จึงนำความเข้าทูลพระเจ้าพิมพิสารให้ทรงทราบ
เมื่อพระเจ้าพิมพิสาร ได้ทรงสดับแล้ว ก็ทรงมีพระทัยโสมนัสในคุณสมบัติของบรรพชิตรูปนี้ มีพระประสงค์จะได้พบ จึงเสด็จด้วยพระราชยานออกจากพระนครโดยด่วน ครั้นถึงบัณฑวบรรพต ได้เสด็จพระราชดำเนินเข้าไปเฝ้าพระมหาบุรุษเจ้า เมื่อได้ทอดพระเนตรเห็นพระอิริยาบถสำรวมอยู่ในสมณสังวร ก็ยิ่งทรงเลื่อมใสในปฏิปทาของพระมหาบุรุษเจ้ายิ่งนัก ครั้นได้ทูลถามถึงตระกูล ประเทศและพระชาติ เมื่อได้ทรงทราบว่า เป็นขัตติยศากยราชเสด็จออกบรรพชา ก็ทรงดำรัสว่า ชะรอยพระมหาบุรุษจะทรงพิพาทกับพระประยูรญาติด้วยเรื่องพระราชสมบัติเป็นแน่แท้ จึงได้เสด็จออกบรรพชา ซึ่งเป็นธรรมดาของนักพรตที่ออกจากราชตระกูล แล้วบรรพชาแต่กาลก่อน จึงได้ทรงเชิ้อเชิญพระมหาบุรุษด้วยราชสมบัติ ซึ่งพระองค์ยินดีจะแบ่งถวาย ให้เสวยสมพระเกียรติทุกประการ
พระมหาบุรุษตรัสตอบ ขอบพระทัยพระเจ้าพิมพิสาร ซึ่งมีพระทัยเปี่ยมด้วยพระเมตตา แบ่งสิริราชสมบัติ พระราชทานให้ครอบครอง แต่พระองค์มิได้มีความประสงค์เช่นนั้นเลย ทรงสละราชสมบัติออกบรรพชาเพื่อมุ่งพระสัพพัญญุตญาณโดยแท้ พระเจ้าพิมพิสารได้ทรงสดับ ก็ตรัสอนุโมทนาและทูลขอปฏิญญากับพระมหาบุรุษว่า ถ้าพระองค์ได้บรรลุพระสัพพัญญุตญาณแล้ว ขอได้ทรงพระกรุณาเสด็จมายังพระนครราชคฤห์ แสดงธรรมโปรด ครั้นพระหาบุรุษทรงรับปฏิญญาแล้ว พระเจ้าพิมพิสารก็ถวายบังคมลากลับสู่พระนคร
ลำดับนั้น พระมหาบุรุษก็เสด็จจาริกจากที่นั้น ไปสู่สำนักของอาฬารดาบสกาลามโคตร ซึ่งสร้างอาศรมอยู่ในพนาสณฑ์ตำบลหนึ่ง ขอพำนักศึกษาวิชาและข้อปฏิบัติ ทรงศึกษาอยู่ไม่นานนัก ก็สำเร็จสมาบัติ ๗ คือ รูปฌาน ๔ อรูปฌาน ๓ หมดสิ้นความรู้ของอาฬารดาบส จึงไปสู่สำนักของอุททกดาบสรามบุตร ขอพำนักศึกษาอยู่ด้วย ทรงศึกษาได้อรูปฌาน ๔ ครบสมาบัติ ๘ หมดสิ้นความรู้ของอุททกดาบส ครั้นทรงไต่ถามถึงธรรมวิเศษขึ้นไป อุททกดาบสก็ไม่สามารถจะบอกได้ และได้ยกย่องตั้งพระมหาบุรุษไว้ในฐานะเป็นอาจารย์เสมอด้วยตน แต่พระมหาบุรุษทรงเห็นว่า ธรรมเหล่านี้มิใช่ทางตรัสรู้ จึงได้อำลาอาจารย์ ออกแสวงหาธรรมวิเศษสืบไป ทั้งมุ่งพระทัยจะทำความเพียรโดยลำพังพระองค์ด้วย จึงได้เสด็จจาริกไปยังมคธชนบท บรรลุถึงตำบลอุรุเวลา เสนานิคม ได้ทอดพระเนตรเห็นพื้นที่ราบรื่น แนวป่าเขียวสดเป็นที่เบิกบานใจ แม่น้ำไหล มีน้ำใสสะอาด มีท่าน้ำรื่นรมย์ โคจรคาม คือหมู่บ้านที่อาศัยของกุลบุตรผู้มีความต้องการด้วยความเพียร จึงได้เสด็จประทับอยู่ ณ ที่นั้น
ส่วนบรรพชิตทั้ง ๕ ซึ่งมีนามว่า ปัญจวัคคีย์ ได้แก่ พระโกณฑัญญะ พระวัปปะ พระภัททิยะ พระมหานามะ พระอัสสชิ พากันเที่ยวติดตามพระมหาบุรุษในที่ต่าง ๆ จนได้พบพระมหาบุรุษ ณ ตำบลอุรุเวลา เสนานิคม จึงพากันเข้าไปถวายอภิวาท แล้วอยู่ปฏิบัติบำรุง จัดทำธุรกิจถวายทุกประการ โดยหวังว่า เมื่อพระองค์ได้ตรัสรู้แล้ว จะได้แสดงธรรมโปรดตนบ้าง
ครั้งน้ัน อุปมา ๓ ข้อ อันไม่น่าอัศจรรย์ พระองค์ไม่เคยได้ยินมาในกาลก่อน มาปรากฏแจ่มแจ้งแก่พระองค์ว่า สมณพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ซึ่งมีกายไม่ได้หลีกออกจากกาม และมีความพอใจรักใคร่ในกาม ยังละให้สงบระงับไม่ได้ดี สมณพราหมณ์เหล่านั้น แม้ได้เสวยทุกขเวทนาอันกล้าเผ็ดร้อน ที่เกิดเพราะความเพียรก็ดี ไม่ได้เสวยก็ดี ก็ไม่ควรจะตรัสรู้ เหมือนไม้สดที่ชุ่มด้วยยาง บุคคลแช่ไว้ในน้ำ บุรุษมีความต้องการด้วยไฟ ถือเอาไม้สีไฟมาสีเข้า ด้วยหวังจะให้เกิดไฟ บุรุษนั้นก็ไม่อาจทำให้ไฟเกิดขึ้นได้ ต้องเหน็ดเหนื่อยลำบากเปล่า เพราะไม้นั้นยังสดอยู่และมียาง ทั้งยังแช่อยู่ในน้ำ
อีกข้อหนึ่ง สมณพรามหณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง แม้มีกายหลีกออกจากกามแล้ว แต่ยังมีความรักใคร่พอใจในกาม ยังละให้สงบไม่ได้ดี สมณพรามหณ์เหล่านั้น แม้ได้เสวยทุกขเวทนาเช่นนั้น อันเกิดเพราะความเพียรก็ดี ไม่ได้เสวยก็ดี ไม่ควรตรัสรู้ เหมือนไม้สดที่ชุ่มด้วยยาง แม้ห่างไกลจากน้ำ บุคคลตั้งไว้บนบก บุรุษก็ไม่อาจสีให้เกิดไฟได้ ถ้าสีเข้าต้องเหน็ดเหนื่อยลำบากเปล่า เพราะไม้นั้นแม้ตั้งอยู่บนบกแล้ว แต่ยังเป็นของสดชุ่มด้วยยาง
อีกข้อหนึ่ง สมณพรามหณ์เหล่าหนึ่งเหล่าใด มีกายหลีกออกจากกามแล้ว และละความใคร่ในกาม ให้สงบระงับดีแล้ว สมณพรามหณ์เหล่านั้น ได้เสวยทุกขเวทนาเช่นนั้น อันเกิดเพราะความเพียรก็ดี แม้ไม่ได้เสวยเลยก็ดี ก็ควรจะตรัสรู้ได้ เหมือนไม้แห้งที่ไกลจากน้ำ บุคคลวางไว้บนบก บุรุษอาจสีให้เกิดไฟขึ้นได้ เพราะเป็นของแห้งทั้งตั้งอยู่บนบก
..............................................
ปัญจวัคคีย์เข้าเฝ้าพระมหาบุรุษเจ้า ณ ตำบลอุรุเวลา เสนานิคม
ครั้นเมื่อบรรดาราชบุรุษได้เห็นพระมหาบุรุษในขณะเสด็จบิณฑบาต จึงนำความไปกราบทูลพระเจ้าพิมพิสารพระราชาแห่งแคว้นมคธให้ทราบ พระเจ้าพิมพิสารจึงรับสั่งให้ไปสะกดรอยติดตาม เพื่อทราบความเท็จจริงของบรรพชิตรูปนี้ เมื่อบรรดาราชบุรุษได้สืบจนทราบความจริงแล้ว จึงนำความเข้าทูลพระเจ้าพิมพิสารให้ทรงทราบ
เมื่อพระเจ้าพิมพิสาร ได้ทรงสดับแล้ว ก็ทรงมีพระทัยโสมนัสในคุณสมบัติของบรรพชิตรูปนี้ มีพระประสงค์จะได้พบ จึงเสด็จด้วยพระราชยานออกจากพระนครโดยด่วน ครั้นถึงบัณฑวบรรพต ได้เสด็จพระราชดำเนินเข้าไปเฝ้าพระมหาบุรุษเจ้า เมื่อได้ทอดพระเนตรเห็นพระอิริยาบถสำรวมอยู่ในสมณสังวร ก็ยิ่งทรงเลื่อมใสในปฏิปทาของพระมหาบุรุษเจ้ายิ่งนัก ครั้นได้ทูลถามถึงตระกูล ประเทศและพระชาติ เมื่อได้ทรงทราบว่า เป็นขัตติยศากยราชเสด็จออกบรรพชา ก็ทรงดำรัสว่า ชะรอยพระมหาบุรุษจะทรงพิพาทกับพระประยูรญาติด้วยเรื่องพระราชสมบัติเป็นแน่แท้ จึงได้เสด็จออกบรรพชา ซึ่งเป็นธรรมดาของนักพรตที่ออกจากราชตระกูล แล้วบรรพชาแต่กาลก่อน จึงได้ทรงเชิ้อเชิญพระมหาบุรุษด้วยราชสมบัติ ซึ่งพระองค์ยินดีจะแบ่งถวาย ให้เสวยสมพระเกียรติทุกประการ
พระมหาบุรุษตรัสตอบ ขอบพระทัยพระเจ้าพิมพิสาร ซึ่งมีพระทัยเปี่ยมด้วยพระเมตตา แบ่งสิริราชสมบัติ พระราชทานให้ครอบครอง แต่พระองค์มิได้มีความประสงค์เช่นนั้นเลย ทรงสละราชสมบัติออกบรรพชาเพื่อมุ่งพระสัพพัญญุตญาณโดยแท้ พระเจ้าพิมพิสารได้ทรงสดับ ก็ตรัสอนุโมทนาและทูลขอปฏิญญากับพระมหาบุรุษว่า ถ้าพระองค์ได้บรรลุพระสัพพัญญุตญาณแล้ว ขอได้ทรงพระกรุณาเสด็จมายังพระนครราชคฤห์ แสดงธรรมโปรด ครั้นพระหาบุรุษทรงรับปฏิญญาแล้ว พระเจ้าพิมพิสารก็ถวายบังคมลากลับสู่พระนคร
ลำดับนั้น พระมหาบุรุษก็เสด็จจาริกจากที่นั้น ไปสู่สำนักของอาฬารดาบสกาลามโคตร ซึ่งสร้างอาศรมอยู่ในพนาสณฑ์ตำบลหนึ่ง ขอพำนักศึกษาวิชาและข้อปฏิบัติ ทรงศึกษาอยู่ไม่นานนัก ก็สำเร็จสมาบัติ ๗ คือ รูปฌาน ๔ อรูปฌาน ๓ หมดสิ้นความรู้ของอาฬารดาบส จึงไปสู่สำนักของอุททกดาบสรามบุตร ขอพำนักศึกษาอยู่ด้วย ทรงศึกษาได้อรูปฌาน ๔ ครบสมาบัติ ๘ หมดสิ้นความรู้ของอุททกดาบส ครั้นทรงไต่ถามถึงธรรมวิเศษขึ้นไป อุททกดาบสก็ไม่สามารถจะบอกได้ และได้ยกย่องตั้งพระมหาบุรุษไว้ในฐานะเป็นอาจารย์เสมอด้วยตน แต่พระมหาบุรุษทรงเห็นว่า ธรรมเหล่านี้มิใช่ทางตรัสรู้ จึงได้อำลาอาจารย์ ออกแสวงหาธรรมวิเศษสืบไป ทั้งมุ่งพระทัยจะทำความเพียรโดยลำพังพระองค์ด้วย จึงได้เสด็จจาริกไปยังมคธชนบท บรรลุถึงตำบลอุรุเวลา เสนานิคม ได้ทอดพระเนตรเห็นพื้นที่ราบรื่น แนวป่าเขียวสดเป็นที่เบิกบานใจ แม่น้ำไหล มีน้ำใสสะอาด มีท่าน้ำรื่นรมย์ โคจรคาม คือหมู่บ้านที่อาศัยของกุลบุตรผู้มีความต้องการด้วยความเพียร จึงได้เสด็จประทับอยู่ ณ ที่นั้น
ส่วนบรรพชิตทั้ง ๕ ซึ่งมีนามว่า ปัญจวัคคีย์ ได้แก่ พระโกณฑัญญะ พระวัปปะ พระภัททิยะ พระมหานามะ พระอัสสชิ พากันเที่ยวติดตามพระมหาบุรุษในที่ต่าง ๆ จนได้พบพระมหาบุรุษ ณ ตำบลอุรุเวลา เสนานิคม จึงพากันเข้าไปถวายอภิวาท แล้วอยู่ปฏิบัติบำรุง จัดทำธุรกิจถวายทุกประการ โดยหวังว่า เมื่อพระองค์ได้ตรัสรู้แล้ว จะได้แสดงธรรมโปรดตนบ้าง
ครั้งน้ัน อุปมา ๓ ข้อ อันไม่น่าอัศจรรย์ พระองค์ไม่เคยได้ยินมาในกาลก่อน มาปรากฏแจ่มแจ้งแก่พระองค์ว่า สมณพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ซึ่งมีกายไม่ได้หลีกออกจากกาม และมีความพอใจรักใคร่ในกาม ยังละให้สงบระงับไม่ได้ดี สมณพราหมณ์เหล่านั้น แม้ได้เสวยทุกขเวทนาอันกล้าเผ็ดร้อน ที่เกิดเพราะความเพียรก็ดี ไม่ได้เสวยก็ดี ก็ไม่ควรจะตรัสรู้ เหมือนไม้สดที่ชุ่มด้วยยาง บุคคลแช่ไว้ในน้ำ บุรุษมีความต้องการด้วยไฟ ถือเอาไม้สีไฟมาสีเข้า ด้วยหวังจะให้เกิดไฟ บุรุษนั้นก็ไม่อาจทำให้ไฟเกิดขึ้นได้ ต้องเหน็ดเหนื่อยลำบากเปล่า เพราะไม้นั้นยังสดอยู่และมียาง ทั้งยังแช่อยู่ในน้ำ
อีกข้อหนึ่ง สมณพรามหณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง แม้มีกายหลีกออกจากกามแล้ว แต่ยังมีความรักใคร่พอใจในกาม ยังละให้สงบไม่ได้ดี สมณพรามหณ์เหล่านั้น แม้ได้เสวยทุกขเวทนาเช่นนั้น อันเกิดเพราะความเพียรก็ดี ไม่ได้เสวยก็ดี ไม่ควรตรัสรู้ เหมือนไม้สดที่ชุ่มด้วยยาง แม้ห่างไกลจากน้ำ บุคคลตั้งไว้บนบก บุรุษก็ไม่อาจสีให้เกิดไฟได้ ถ้าสีเข้าต้องเหน็ดเหนื่อยลำบากเปล่า เพราะไม้นั้นแม้ตั้งอยู่บนบกแล้ว แต่ยังเป็นของสดชุ่มด้วยยาง
อีกข้อหนึ่ง สมณพรามหณ์เหล่าหนึ่งเหล่าใด มีกายหลีกออกจากกามแล้ว และละความใคร่ในกาม ให้สงบระงับดีแล้ว สมณพรามหณ์เหล่านั้น ได้เสวยทุกขเวทนาเช่นนั้น อันเกิดเพราะความเพียรก็ดี แม้ไม่ได้เสวยเลยก็ดี ก็ควรจะตรัสรู้ได้ เหมือนไม้แห้งที่ไกลจากน้ำ บุคคลวางไว้บนบก บุรุษอาจสีให้เกิดไฟขึ้นได้ เพราะเป็นของแห้งทั้งตั้งอยู่บนบก
..............................................
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น